หน้าแรก » ลักษณะทางกายภาพของช้าง

ลักษณะทางกายภาพของช้าง

ลักษณะทั่วไปของช้าง 
ธรรมชาติของช้าง   ช้างทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นช้างพันธุ์เอเชียหรือพันธุ์แอฟริกา มีความเป็นอยู่เหมือนกันอยู่อย่างหนึ่ง คือ ชอบอยู่เป็นฝูง ช้าง ฝูงหนึ่งมักประกอบด้วยช้าง ๕ – ๑๐ เชือก แต่ละฝูงจะมีช้างพลายตัวหนึ่งเป็นหัวหน้า ซึ่งมักจะเป็นตัวที่แข็งแรงที่สุดของ ฝูง มีหน้าที่คอยเป็นผู้ปกปักรักษา และป้องกันอันตรายให้แก่ช้างในฝูงของตน และเป็นผู้นำฝูงไปหาอาหารในแหล่งที่ มี ความอุดมสมบูรณ์ ช้างป่าที่หากินอยู่ตัวเดียว ถ้าไม่ใช่ช้างแก่ซึ่งเดินตามเพื่อนฝูงไม่ทัน มักจะเป็นช้างเกเรที่ถูก ขับออกจากฝูง เรียกว่า “ช้างโทน” ช้างโทนนี้มีนิสัยดุร้าย ซึ่งอาจเป็นอันตรายแก่ผู้พบเห็นได้ ช้างไทยหรือช้างเอเชียมีนิสัยชอบอากาศเย็น และไม่ชอบแสง แดดจัด ฉะนั้น เมื่อเรานำมันมาฝึกใช้งาน เช่น งานชักลากไม้ เราจึงใช้งานช้างเฉพาะตอนเช้าตั้งแต่ ๖.๐๐-๑๒.๐๐ น. ส่วนตอน บ่ายต้องให้มันหยุดพักผ่อน นอกจากนั้น เมื่อเราใช้งานมันติดต่อกันไป ๓ วัน เราจะต้องให้มันหยุดพักงานอีก ๑ – ๒ วัน แล้ว จึงให้มันทำงานใหม่ ทั้งนี้ก็เพราะว่า ช้างเป็นสัตว์ที่มีโรคภัยเบียดเบียนได้ง่าย ถ้าเราใช้งานมันหนักเกินไป มันอาจ จะเกิดเจ็บป่วยขึ้นในฤดูที่มีอากาศร้อนจัด คือ ระหว่างเดือนมีนาคม – พฤษภาคม

ช้าง หรือ คชสาร  เป็นชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Elephus maximus ในวงศ์ Elephantidae  ตัวสีเทา  จมูกยื่นยาวเรียกว่า งวง  ตัวผู้มีงายาว เรียก ช้างพลาย  ถ้าไม่มีงาเรียก ช้างสีดอ  ในฤดูผสมพันธุ์มีอาการดุร้ายมาก  ตัวเมียเรียก “ช้างพัง”  ส่วนใหญ่ไม่มีงาปรากฏให้เห็น  แต่บางตัวมีงาสั้นๆ ซึ่งเรียกว่า  “ขนาย” โผล่ออกมา  กินพืชอยู่รวมกันเป็นโขลง  มีช้างพังอายุมากเป็นจ่าโขลง

อ้างอิง  http://pirun.ku.ac.th/

http://www.alisuasaming.com/index.php/animalinquran/1335-animalinquran09

ใส่ความเห็น