พระสันตะปาปา

พระสันตะปาปาคือใคร
ตำแหน่งพระสันตะปาปา (pope) เป็นพระสมณศักดิ์ที่สูงที่สุดในพระศาสนจักร(โรมมัน)คาทอลิก คือ เป็นประมุขสูงสุดของพระศาสนจักร(โรมัน)คาทอกลิก และทรงเป็นองค์ผู้นำของคริสตชนทั่วโลก คำว่า สันตะปาปา มาจากคำว่า “Santo” (สันโต) หรื อ “Satus” ซึ่งแปลว่า ศักดิ์สิทธิ์ ส่วนคำว่า “Papa” (ปาปา) แปลว่า บิดา ดังนั้น คำว่า สันตะปาปา จึงแปลว่า “บิดาผู้ศักดิ์สิทธิ์” น อกจากนี้ ยังมีคำอื่น ๆ ที่ใช้เรียกพระสันตะปาปาได้อีกคือ คำว่า ปาตรีอาร์ต (Patriarch) ซึ่งคำว่า ปาตรี แปลว่า “บิดา” อาร์ต แปลว่า ใหญ่ ปาตรีอาร์ต จึงแปลว่า “บิดาผู้ยิ่งใหญ่” หรือ “อัครบิดร” ทางพระศาสนจักรตะวันออก และคาทอลิกนิกายออร์โธด๊อกซ์ ได้เรียกพระสันตะปาปาว่า ซุพรีม พอนทิฟ (Supreme Pontiff) ซึ่งแปลว่าพระสันตะปาปาผู้สูงสุด ผู้เชื่อมโยงเรากับพระเป็นเจ้า
ในสมัยก่อนคำว่าพระสันตะปาปา (Pope) เป็นคำที่ใช้เรียกพระสังฆราชทุกองค์ ต่อมาประมาณศตวรรษที่ 6 พระสันตะปาปาในขณะนั้นได้กำหนดให้คำว่า สันโตปาปา ใช้เรียกเฉพาะพระสังฆราชที่กรุงโรมเท่านั้น คำว่าพระสันตะปาปา จึงเป็นคำที่ใช้เรียกประมุขสูงสุดของพระศาสนจักร แต่องค์เดียวนับแต่นั้นเป็นต้นมา
การสืบอำนาจของพระสันตะปาปา
อำนาจของพระสันตะปาปา มี 2 ประการด้วยกัน คือ อำนาจในการอภิบาลสั่งสอน และ อำนาจในการปกครอง ซึ่งเป็น อำนาจที่เกิดจากการที่พระเยซูเจ้าทรงมอบอำนาจนี้ให้กับท่านนักบุญเปโตร ผู้เป็นพระสันตะปาปาองค์แรก ให้เป็นผู้ปกครองบรรดาคริสตชน ด้วยประโยคที่ว่า “ท่านคือศิลา และบนศิลานี้เราจะสร้างพระศาสนจักรของเราไว้ และประตูนรกจะไม่มีวันชนะพระศาสน จักรได้ เราจะมอบกุญแจอาณาจักรสวรรค์ให้ท่านไว้ สิ่งที่ท่านผูกในแผ่นดินนี้ ก็จะผูกในสวรรค์ด้วย และทุกสิ่งที่ท่านจะแก้ในโลกก็จะแก้ในสวรรค์ด้วย” (มธ. 16:18) ดังนั้นการคัดเลือกพระสันตะปาปาพระองค์แรกและพิธีอภิเษกจึงได้กระทำสำเร็จบริบูรณ์ในเวลาอันสั้น แต่การมอบอำนาจเดียวกันนี้ จะมอบสืบทอดให้กับผู้สืบตำแหน่งพระสันตะปาปาองค์ต่อ ๆ ไปจากท่านนักบุญเปโตร
ดังนั้น ท่านนักบุญเปโตรได้ออกไปประกาศ เทศนาสั่งสอน เป็นองค์พยานถึงความเชื่อ แก่ประชาชนทั่วไป ที่สุดท้ายที่นักบุ ญเปโตรทำการประกาศศาสนา และมีคนกลับใจเป็นจำนวนมาก คือกรุงโรม ประเทศอิตาลี ต่อมาเข้ายุคของการเบียดเบียนศาสนา ประมาณปี ค.ศ. 64 ทำให้ท่านนักบุญเปโตร ถูกจับและประหารชีวิตในที่สุด การสิ้นชีพของนักบุญเปโตรนั้น ทำให้ตำแหน่งพระสัน ตะปาปาว่างลง พระศาสนจักรท้องถิ่นขาดผู้นำ ประชาชนปราศจากผู้อภิบาลคอยดูแล จึงมีการคัดเลือกผู้ที่เหมาะสมที่จะสืบตำแหน่งต่อจากนักบุญเปโตร และผู้ที่สามารถถูกรับเลือกให้เป็นพระสันตะปาปาได้นั้น จะต้องเป็นผู้ที่รับศีลบวชเป็นพระสงฆ์ขั้นสมบูรณ์ คือ รับศีลบวชครบ 3 ขั้น 1. ศีลบวชสังฆนุกร 2. ศีลบวชพระสงฆ์ 3. ศีลบวชพระสังฆราช นั้นหมายความว่า ผู้ที่สืบต่อจะต้องได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระสงฆ์ขั้นสมบูรณ์ คือขั้นของพระสังฆราชนั้นเอง
วิธีการเลือกผู้สืบตำแหน่งพระสันตะปาปา
การคัดเลือกพระสันตะปาปาในครั้งแรก หลังจากนักบุญเปโตร พระสันตะปาปาองค์แรกสิ้นชีพ การคัดเลือกยังไม่มีกฎระเบียบที่แน่นอน ผู้ทำการคัดเลือกพระสันตะปาปาคือ สังฆานุกร พระสงฆ์ ฆราวาส และผู้ใกล้ชิด มาประชุมตกลงกัน เพื่อคัดเลือกพระสันตะปาปาพระองค์ใหม่ การคัดเลือกพระสันตะปาปาพระองค์ใหม่ดำเนินการเช่นนี้เรื่อยมา
จนถึงสมัยของพระสันตะปาปา นิโคลัสที่ 2 ในปีค.ศ. 1059 พระองค์ทรงเห็นว่า การคัดเลือกพระสันตะปาปาในสมัยนั้น ถูกแทรกแซงจากผู้ปกครองบ้านเมือง จึงมีการตั้งกฎว่า “การเลือกตั้งพระสันตะปาปานั้น อนุญาติให้เฉพาะพระคาร์ดินัลเท่านั้น เป็น ผู้มีสิทธิ์ในการเลือกตั้ง โดยจะเลือกจากพระคาร์ดินัลด้วยกัน หรือจะเลือกจากใครก็ได้ โดยกำหนดให้มีกลุ่มคาร์ดินัล 2 ถึง 5 คนเป็นผู้คัดเลือกผู้ที่เหมาะสม และเสนอชื่อให้พระคาร์ดินัลทั้งหมดเป็นผู้ลงคะแนนตัดสินเลือกท่านหนึ่งจากรายชื่อนี้ การคัดเลือกวิธีนี้ดำเนินต่อมาอีกร้อยปี
จนถึงสมัยของพระสันตะปาปา อเล็กซานเดอร์ที่ 3 พระองค์ทรงเปลี่ยนแปลงวิธีการเลือก โดยยกเลิกการเสนอรายชื่อผู้ควรได้รับเลือกเสีย โดยให้พระคาร์ดินัลทุกท่านมีโอกาสเท่าเสมอกัน จะเสนอชื่อใคร หรือเลือกใครก็ได้ แต่ผู้ที่ได้รับเลือกจะต้องมีคะแนนเสียง 2 ใน 3 ของจำนวนพระคาร์ดินัลที่ออกเสียงได้ หากคะแนนเสียงยังไม่ถึง 2 ใน 3 ก็ต้องทำการคัดเลือกกันใหม่ และในสมัยของพระสันตะปาปา เกโกลีที่ 10 พระองค์ทรงเห็นว่าวิธีการลงคะแนนเสียงแบบ 2 ใน 3 นี้ ใช้เวลานานและยืดเยื้อ พระองค์จึงหาวิธีที่ ทำให้การลงคะแนนสำเร็จโดยเร็ว จึงได้กำหนดห้อง ๆ หนึ่งขึ้น โดยเรียกห้องนี้ว่า คอนเคลฟ (Conclave) ซึ่งแปลว่าห้องที่ปิดกุญแจ โดยพระคาร์ดินัลผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียง จะต้องประชุมกันที่ห้องนี้ ตัดการติดต่อกับคนภายนอก จนกว่าการลงคะแนนเสียงจะสิ้นสุดลง ซึ่งวิธีนี้ทำให้การลงคะแนนเสียงสำเร็จลงเร็วขึ้น กฎนี้จึงใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน
ขั้นตอนการเลือกตั้งพระสันตะปาปา
เมื่อพระสันตะปาปาพระองค์สิ้นพระชนม์ หัวหน้าพระคาร์ดินัล (dean of the Cardimal) จะเป็นผู้จัดพิธีปลงพระศพ ซึ่งตา มประเพณีที่ปฏิบัติสืบต่อกันมา พระศพจะถูกตั้งอยู่ที่วัดน้อยซิสติน เพื่อให้ประชาชนมาแสดงความเคารพ ต่อจากนั้นพระศพของสมเด็จพระสันตะปาปาจะถูกนำไปฝังไว้เคียงข้างผู้สืบตำแหน่งของพระสันตะปาปาองค์ก่อนพระองค์ ภายในอุโมงค์ใต้มหาวิหารนักบุญเปโตร หลังฝั่งพระศพพระสันตะปาปาพระองค์ก่อนเรียบร้อยแล้ว หัวหน้าพระคาร์ดินัล จะออกหนังสือแจ้งอย่างเป็นทางการว่าพระสันตะปาปาทรงสิ้นพระชนม์ เชิญพระคาร์ดินัลจากทั่วโลกมาทำการเลือกตั้งพระสันตะปาปาพระองค์ใหม่ โดยการเลือกตั้งจะใช้วิธีลงคะแนนลับ ณ โบสถ์ซิสติน กรุงโรม ซึ่งระหว่างที่มีการประชุมลงคะแนนลับเพื่อคัดเลือกพระสันตะปาปาองค์ใหม่นั้น ประชาชน จากทั่วทุกมุมโลกจะให้ความสนใจอยากทราบข่าวการลงคะแนน รวมทั้งประชาชนชาวอิตาลีก็จะพากันมารวมตัวอยู่หน้าจัตุรัส เพื่อรอดูสัญญาณควันทางปล่องไฟ ซึ่งสัญญาณควันนี้จะเป็นเครื่องหมายบอกให้ประชาชนทราบว่า การลงคะแนนเสียงลับของพระค าร์ดินัลนั้นสำเร็จหรือไม่ หากการลงคะแนนเสียงครั้งนั้น ไม่สำเร็จ คือ คะแนนที่ได้ไม่ถึง 2 ใน 3 ควันที่ลอยออกมาจากปล่อยไฟก็จะเป็นสีดำ โดยวัสดุที่นำมาเผานั้น คือบัตรที่ใช้ลงคะแนนเสียง และวัสดุอื่น ๆ ที่เผารวมกันแล้วก่อให้เกิดควันสีดำ ต่อเมื่อการลงคะแนนเสียงสำเร็จเป็นที่เรียบร้อย ได้พระสันตะปาปาพระอง ค์ใหม่ ควันที่ออกมาจากปล่อยไฟก็จะเป็นควันสีขาว ซึ่งเกิดขึ้นจากการนำบัตรลงคะแนนเสียง และวัสดุอื่น ๆ ที่ก่อให้เกิดควันสีขาวมาเผารวมกัน ซึ่งการส่งสัญญาณควันนี้จะกระทำวันละ 2 ครั้ง
เมื่อการลงคะแนนเสียงเสร็จสิ้นลงแล้ว หัวหน้าพระคาร์ดินัล จะถามความสมัครของผู้ได้รับเลือก ว่าจะยอมรับตำแหน่งนี้หรือไม่ หากผู้ได้รับเลือกรู้สึกว่าตนเองไม่เหมาะสมที่รับตำแหน่งพระสันตะปาปานี้ ก็สามารถที่จะปฏิเสธ และทำการเลือกตั้งใหม่ หากเขาตัดสินใจที่จะรับ ตำแหน่งนี้ หัวหน้าพระคาร์ดินัล ก็จะนำผู้ได้รับเลือกเป็นพระสันตะปาปาพระองค์ใหม่ไปนั่งเก้าอี้ เพื่อให้พระคาร์ดินัลทั้งหลายแสดงความคารวะ และพระสันตะปาปาพระองค์ใหม่จะเสด็จออกไปที่เฉลียงมหาวิหารนักบุญเปโตร เพื่ออวยพรและทักทายชาวกรุงโร มและชาวโลกทั้งมวล
ความหมายของการขึ้นครองราชย์
หลังจากได้รับคัดเลือกแล้ว ก็ถึงพิธีกรรมอันสำคัญ คือ พิธีสมณภิเษก รับตำแหน่งพระสันตะปาปา ซึ่งพิธีกรรมอันศักดิ์สิท ธิ์นี้ จัดขึ้น ณ มหาวิหารนักบุญเปโตร โดยในพิธี หัวหน้าพระคาร์ดินัลจะทำการมีการสวมมงกุฎ 3 ชั้น (Diadema) ให้กับพระสันตะ ปาปาองค์ใหม่ เพื่อเป็นเครื่องหมายอย่างเป็นทางการว่าได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ปกครองพระศาสนจักรสูงสุด แต่ในสมัยของสมเด็จพระสันตะปาปา ยอห์น ปอลที่ 2 พระองค์ทรงไม่รับการสวมมงกุฎนั้น หากพระองค์เลือกใช้ หมวกทรงสูง (Mitra) ซึ่งเป็นหมวกแบบเดียวกับสังฆราขทั่ว ๆ ไป เป็นเครื่องหมายของการขึ้นครองราชย์ แทนมงกุฎ 3 ชั้น เพื่อแสดงให้เห็นว่า ถึงแม้ว่าพระองค์จะเป็นประมุข เป็นผู้ปกครองสูงสุดของพระศาสนจักร แต่พระองค์ก็ยังคงดำเนินชีวิตอย่างเรียบง่าย
พระสันตะปาปาเท็จ (antipope)
พระสันตะปาปาเท็จ (antipope) หมายถึง ผู้ที่เป็น “พระสันตะปาปาโดยไม่ถูกต้อง” ทั้งที่อ้างตัวเอง หรือเกิดจากความสับสน, หรือได้รับเลือกให้เป็นพระสันตะปาปาแล้ว แต่ไม่ได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการ, หรือได้รับตำแหน่งโดยถูกต้องแล้ว แต่ถือกันว่าเป็น พระสันตะปาปาเท็จ
พระสันตะปาปาเท็จส่วนใหญ่ เกิดจากความขัดแย้งทางการเมืองของคริสต์ศาสนจักรระหว่างผู้ปกครองในขณะนั้น โดยเฉพาะกับจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ทั้งนี้ผู้ปกครองในหลายสมัยพยายามจะเข้ามาแทรกแซงศาสนจักร. ส่วนศาสนจักรเองนั้น ตามประวัติศาสตร์ ก็ปรากฏว่ามีการพยายามแทรกแซงทางโลกเช่นเดียวกัน เช่นการสนับสนุน antiking ในประเทศเยอรมนีสมัยก่อน
นอกจากความขัดแย้งกับทางโลกแล้ว ความสับสนและไม่ลงรอยภายในศาสนาจักรเอง ก็ทำให้เกิด antipope ขึ้นในระหว่างการเลือกพระสันตะปาปาเช่นเดียวกัน. กล่าวได้อีกอย่างก็คือ พระสันตะปาปาที่ถูกต้องนั้น ก็มีโอกาสเป็น “พระสันตะปาปาเท็จ” ได้เช่นเดียวกัน ถ้าการณ์กลับว่า พระสันตะปาปาเท็จ ได้รับเลือกเป็นพระสันตะปาปาที่ถูกต้อง ความไม่ลงรอยกันในการเลือกพระสันตะปาปาในศาสนจักรโรมันคาทอลิกนั้น ภายหลังนำไปสู่การปฏิรูปโปรแตสแตนท์ในที่สุด
สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 (Benedict XVI Papa Benedictus Sextus Decimus)

สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 (ละติน: Benedictus XVI, อังกฤษ: Benedict XVI) มีพระนามเดิมว่า พระคาร์ดินัล โยเซฟ รัตซิงเกอร์ (ภาษาละติน Iosephus Ratzinger, ภาษาอังกฤษ Joseph Alois Ratzinger) เกิดเมื่อ 16 เมษายน พ.ศ. 2470 (ค.ศ. 1927) เป็นชาวเยอรมัน

ทรงเป็นบุตรชายของ โจเซฟ และมาเรีย รัตซิงเกอร์ ประสูติในหมู่บ้านมาร์เคลท์ อำ อินน์ (Marktl am Inn) ในแคว้นบาวาเรีย, ประเทศเยอรมนี ไม่ไกลจากชายแดนออสเตรีย ทรงมีพี่น้อง 2 คน คนหนึ่งเป็นหญิงชื่อมาเรีย (เช่นเดียวกับพระมารดาของพระองค์) อีกคนหนึ่งเป็นพี่ชายคนโต ชื่อ จอร์จ (บวชเป็นบาทหลวงเช่นเดียวกับพระองค์) พระองค์ได้เข้าไปศึกษาเพื่อเตรียมตัวเป็นบาทหลวงในบ้านเณร ในเมือง Traunstein เมื่อปี ค.ศ. 1939 (พ.ศ. 2482)

เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองอุบัติขึ้น พระองค์เข้าร่วมเป็นสมาชิกของหน่วยยุวชนฮิตเลอร์ (เด็กชายทุกคนในปี ค.ศ. 1941 (พ.ศ. 2484) ต้องเข้าร่วม) เมื่อกองทัพเยอรมันต้องการกำลังทหาร พระองค์ก็ถูกเกณฑ์เข้าไปเป็นพลปืนต่อต้านอากาศยาน ซึ่งพระองค์มีหน้าที่ดูแลเครื่องบินและต่อมาทรงย้ายไปประจำที่ศูนย์สื่อสารทางโทรศัพท์ ต่อมาในปี 1944 (พ.ศ. 2487) พระองค์และเพื่อนร่วมชั้นก็ออกจากกองต่อต้านอากาศยาน แต่กลับถูกเกณฑ์อีกครั้งเพื่อไปประจำที่ชายแดนซึ่งติดต่อกับฮังการี พระองค์มีหน้าที่ติดตั้งอุปกรณ์ไว้ป้องกันกองทัพรถถังโซเวียต ในเดือนพฤศจิกายนปีนั้น พระองค์ก็ออกจากกองทัพและมุ่งหน้ากลับบ้าน สามสัปดาห์ผ่านไปพระองค์ก็ได้รับหมายเรียกให้รับการฝึกเป็นทหารราบ แต่ทรงไม่เคยต้องออกไปยังแนวหน้า ในเดือนเมษายน 1945 (พ.ศ. 2488) (ก่อนหน้านาซีจะยอมแพ้ไม่นาน) พระองค์ก็หนีทัพและกลับไปยังหมู่บ้านของพระองค์ แต่ภายหลังสงคราม พระองค์ถูกจับในฐานะเชลยเนื่องจากทัพฝ่ายพันธมิตรสรุปว่าพระองค์เป็นทหาร พระองค์ต้องไปเข้าค่ายกักกันเชลยศึก พระองค์ออกจากค่ายเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2488 พระองค์ได้เริ่มเดินด้วยเท้าเป็นระยะทาง 120 กิโลเมตรเพื่อกลับหมู่บ้าน แต่ได้รับการช่วยเหลือจากรถส่งนมที่พาพระองค์ไปส่งที่เมืองเธราน์ชไตน์ (Traunstein) เมื่อพระองค์กลับถึงบ้าน ก็ได้พบกับพี่ชายซึ่งได้รับการปล่อยตัวมาจากค่ายเชลยศึกในอิตาลีเช่นเดียวกัน

การศึกษา
ในปี 1945 (พ.ศ. 2488) หลังจากที่พระองค์กลับถึงบ้าน พระองค์ก็ได้เข้าศึกษาต่อที่บ้านเณรแห่งหนึ่งในเมืองไฟรซิงก์ (Freising) หลังจากนั้นก็ไปศึกษาที่มหาวิทยาลัยลุดวิก-แม็กซิมิเลียน (Ludwig-Maximilian) ในเมืองมิวนิก ในที่สุด เมื่อปี 1951 (พ.ศ. 2494) พระองค์ก็ได้บวชเป็นบาทหลวงโดยมีผู้บวชให้คือ พระคาร์ดินัลเฟาฮาเบอร์ (Faulhaber) แห่งเมืองมิวนิก ระหว่างนั้นพระองค์ยังทรงเขียนวิทยานิพนธ์ขึ้น 2 ฉบับ โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับนักบุญออกัสติน (เสร็จเมื่อ พ.ศ. 2496) และนักบุญโบนาเวงตูร์ (เสร็จเมื่อ พ.ศ. 2500) ในปี 1958 (พ.ศ. 2501) พระองค์ก็ได้เป็นอาจารย์สอนที่วิทยาลัยไฟรซิงก์

งานทางศาสนา
ต่อมาพระองค์เป็นอาจารย์สอนที่มหาวิทยาลัยบอนน์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2502 ถึง พ.ศ. 2506 เมื่อพระองค์ย้ายไปสอนที่มหาวิทยาลัยมุนสเตอร์ ในปี 1966 (พ.ศ. 2509) พระองค์ได้เป็นอาจารย์สอนวิชาเทววิทยา ณ มหาวิทยาลัยตูบิงเกน (Tübingen) (ระหว่างนี้เองที่พระองค์ได้เห็นขบวนการมากมายที่อาจทำให้คำสอนของคาทอลิกผิดเพื้ยนไป เช่นขบวนการเรียกร้องสิทธิของพวกรักร่วมเพศ) ในปี 1969 (พ.ศ. 2512) พระองค์ก็กลับไปยังบาวาเรีย แคว้นเกิดของพระองค์เพื่อไปสอนที่มหาวิทยาลัยรีเกนสบูรก์ (Regensburg)

ในปี 1972 (พ.ศ. 2515) พระองค์ได้ร่วมกับฮันส์ เอิร์ส วอน บาลธาซาร์, อองริ เดอ ลูบัค และวอลเตอร์ แกสแปร์ ก่อตั้งวารสารทางศาสนาขึ้นมาชื่อว่าคอมมูนิโอ (Communio, ปัจจุบันวารสารนี้ตีพิมพ์ใน 17 ภาษา และเป็นหนึ่งวารสารคาธอลิกที่สำคัญที่สุด) พระองค์ยังเป็นผู้ที่เขียนบทความลงในวารสารนี้อีกด้วย

ในเดือนมีนาคม 1977 (พ.ศ. 2520) ทรงได้รับการแต่งตั้งเป็นอัครสังฆราชแห่งเมืองมิวนิก และในเดือนมิถุนายนปีเดียวกัน ทรงได้รับการแต่งตั้งเป็นพระคาร์ดินัล โดยสมเด็จพระสันตะปาปาปอลที่ 6 (ในการเลือกตั้งพระสันตะปาปาใน พ.ศ. 2548 พระองค์เป็นหนึ่งในพระคาร์ดินัลที่มีสิทธิเลือก 3 คนที่ไม่ได้รับการแต่งตั้งจากสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2) 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1981 (พ.ศ. 2524) สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 แต่งตั้งให้เป็นสมณมนตรีของสมณกระทรวงว่าด้วยข้อความเชื่อ นอกจากนี้ยังทรงเคยดำรงตำแหน่ง
• ประธานคณะกรรมการพระคัมภีร์
• คณะกรรมการเทววิทยาระดับนานาชาติในสันตะสำนัก
• ผู้ประสานงานสมัชชาพระสังฆราช ครั้งที่ 5 (พ.ศ. 2526)
• ประธานของผู้แทน สมัชชาพระสังฆราช ครั้งที่ 6 (พ.ศ. 2526)
• 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1998 (พ.ศ. 2541) ได้รับเลือกเป็นรองหัวหน้าคณะพระคาร์ดินัล
• 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 2002 (พ.ศ. 2545) ได้รับเลือกเป็นหัวหน้า (Dean) คณะพระคาร์ดินัล
• พ.ศ. 2529 – 2535 เป็นประธานคณะกรรมการจัดทำหนังสือคำสอนพระศาสนจักรคาธอลิก
• 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1999 (พ.ศ. 2542) ได้รับปริญญาเอกดุษฎีบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยมาเรียซานติสสิมาอัสสุนตา Maria Santissima Assunta
• 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 2000 (พ.ศ. 2543) ได้รับเกียรติเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ของสถาบันวิทยาศาสตร์ในสันตะสำนัก (Pontifical Academy of Sciences)
• ทรงเคยเป็นสมาชิกในคณะกรรมการสมณกระทรวงของสันตะสำนัก (Curial Membership)
• พระศาสนจักรตะวันออก
• พิธีกรรม
• พระสังฆราช
• การประกาศพระวรสารสู่ปวงชน
• การศึกษาคาธอลิกและเลขาธิการของรัฐวาติกัน (Second Section) ด้านความสัมพันธ์กับรัฐอื่น
หลังจากสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 สิ้นพระชนม์ในวันที่ 2 เมษายน 2548 พระองค์ก็ทรงได้รับเลือกเป็นพระสันตะปาปาเมื่อวันที่ 19 เมษายนพ.ศ. 2548 เมื่ออายุ 78 ปี เป็นสมเด็จพระสันตะปาปาที่มีอายุมากที่สุดที่เคยได้รับเลือก นับตั้งแต่สมเด็จพระสันตะปาปาคลีเมนต์ที่ 7 (พ.ศ. 2273) และเป็นสมเด็จพระสันตะปาปาชาวเยอรมันพระองค์แรกตั้งแต่สมเด็จพระสันตะปาปาเอเดรียนที่ 6 (1522–1523) (สมเด็จพระสันตะปาปาเอเดรียนที่ 6 ทรงเป็นชาวเยอรมันด้วย เพราะในสมัยของพระองค์ เนเธอร์แลนด์ถูกรวมอยู่ในจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (The Holy Roman Empire) ซึ่งปกครองโดยบรรพบุรุษของชาวเยอรมันในปัจจุบัน) (สมเด็จพระสันตะปาปาองค์สุดท้ายก่อนหน้าพระองค์ที่มาจากดินแดนที่อยู่ในเขตเยอรมนีปัจจุบัน คือสมเด็จพระสันตะปาปาวิกเตอร์ที่ 2 ซึ่งดำรงตำแหน่งในปี 1055-1057) การเลือกตั้งพระสันตะปาปาคราวนี้ใช้เวลาเพียง 2 วันเท่านั้น และมีการลงคะแนนทั้งหมด 4 ครั้ง ซึ่งถือว่าเร็วมากเมื่อเทียบกับการเลือกตั้งพระสันตะปาปาครั้งที่ผ่านๆ มา

อ้างอิง http://www.baanjomyut.com/library/christianity/09.html

ใส่ความเห็น