หน้าแรก » ช้างและคชยุทธ์

ช้างและคชยุทธ์

                       

                          “ช้าง” เป็นสัตว์ขนาดใหญ่ สง่างามและทรงพลัง มีถิ่นฐานที่อยู่อาศัยกระจัดกระจายทั่วผืนป่าและทุ่งกว้างในอินเดียกับแอฟริกา

 

ช้างกับมนุษย์ผูกพันกันมายาวนาน แต่ส่วนใหญ่มนุษย์จะอยู่ในฐานะของผู้ล่ามาตั้งแต่สมัยยุคน้ำแข็ง เมื่อกว่า 10,000 ปีที่แล้ว เราพบหลักฐานของโครงกระดูก “ช้างแมมมอธ” จำนวน มาก ที่ถูกนำมาใช้เป็นโครงสร้างที่พักอาศัย หนังนำมาทำเครื่องนุ่มห่ม กระดูกใช้ประดิษฐ์เป็นเครื่องเครื่องใช้ เครื่องทำนายและอาวุธ

ผ่าน ระยะเวลาแห่งวิวัฒนาการมาหลายพันปี ช้างกับมนุษย์เริ่มมีความสัมพันธ์ในเชิงเอื้อประโยชน์ระหว่างกันมากขึ้นกว่า แต่เดิม หลักฐานกว่า 4,000 ปี แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ในระยะเริ่มแรกระหว่างช้างกับมนุษย์ในภูมิภาคอินเดียเหนือ เมื่อมนุษย์สามารถนำช้างออกจากป่ามาเป็นพาหนะและอาวุธอันทรงพลัง ทั้งยังมีพัฒนาการของคติความเชื่อที่ทำให้ช้างกลายมาเป็น “สัตว์มงคล” แต่ก่อนที่จะใช้ช้างได้ ก็ต้องมีการ”จับช้าง”ออกมาจากป่าและมีการ”ฝึกช้าง” เพื่อใช้งานในงานด้านต่าง ๆ

 “ตำราคชศาสตร์” มีต้นกำเนิดในดินแดนอินเดียเหนือ นักบวชและปราชญ์โบราณได้จดบันทึกพฤติกรรมของช้างไว้ แล้วนำมารวบรวมแบ่งหมวดหมู่ตามลักษณะของช้างประเภทต่าง ๆ

ภูมิปัญญาของตำราคชศาสตร์ในอินเดีย ได้เข้ามาสู่ชุมชนในลุ่มแม่น้ำต่าง ๆ ของภูมิภาคสุวรรณภูมิพร้อม ๆ กับการเข้ามาของคติความเชื่อทางศาสนา เทคโนโลยี การปกครอง ผู้คนและการค้า

 ตำรา คชศาสตร์ของชาวสยามมีความคล้ายคลึงกับต้นกำเนิดในอินเดียมากครับ การสืบทอดภูมิปัญญาจากคนรุ่นหนึ่งมาสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง จะใช้วิธีการจดจำ การฝึกฝนปฏิบัติให้มีความชำนาญ มากกว่าจะเขียนเป็นตำรับตำราไว้

 ตามตำราคชศาสตร์สยาม จะเรียก”หมอเฒ่า”หรือหัวหน้าครูช้างในภาษาสันสกฤตว่า “พราหมณ์พฤติบาศ”  และเรียก “ครูช้าง”ว่า “พราหมณ์หัศดาจารย์” ซึ่งนักบวชทั้งสองจะอยู่ร่วมกันในพิธีกรรมสำคัญที่เกี่ยวข้องกับช้างโดยเฉพาะ

 

 

 

ถ้าเป็นช้างพลาย(เพศผู้) จะเรียกว่า “อัณฑโกศ”และช้างพัง(เพศเมีย) เรียกว่า “กระสอบ” ซึ่งลักษณะที่เป็นสีขาวมงคลใน”คชลักษณ์” จะมีหลายระดับด้วยกัน คือ ขาว เขียว เหลือง แดง ดำ ม่วง ไปจนถึงสีเมฆ

ส่วนที่สองของตำราคชศาสตร์ เรียกว่า “คชกรรม” เป็น ศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการฝึกปฏิบัติ วิธีการสอน การฝึกหัดช้างป่า วิธีการหัดขี่ช้างเผือกหรือช้างมงคล การใช้เวทย์มนต์คาถาในการฝึกบังคับช้าง และวิธีปฏิบัติในการอยู่ร่วมกัน ความผูกพันกับช้างที่ตนฝึก

ในสมัยกรุงศรีอยุธยามี “กรมพระคชบาล” คอยดูแลเรื่องการฝึกฝนช้างและช้างศึกโดยเฉพาะครับ เชื่อว่ากรมนี้น่าจะเริ่มต้นมาตั้งแต่สมัยเจ้าสามพระยา หลังจากตีเมืองเขมรพระนครหลวงได้ และนำพราหมณ์ที่เชี่ยวชาญด้านคชศาสตร์พร้อมตำราคชศาสตร์กลับมาด้วย

จนถึงสมัย สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ศิลปศาสตร์แห่งคชสารเป็นที่นิยมมาก พระองค์เชี่ยวชาญวิชาคชศาสตร์และคชศึก ทรงฝึกฝนช้างทรงด้วยพระองค์เอง จน เป็นพระมาหกษัตริย์นักรบบนหลังช้างที่ยิ่งใหญ่ จากหลักฐานบันทึกของชาวต่างชาติร่วมสมัย

ต่อมาในสมัย สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ก็ ทรงโปรดช้างมาก เพราะทรงฝึกฝนการขี่บังคับช้างมาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ เมื่อขึ้นครองราชย์จึงโปรดที่จะเสด็จออกโพนช้าง(กวาดต้อน)ด้วยพระองค์เอง หลายครั้ง

พระองค์ทรงมีกลเม็ดเคล็ดลับมากมายในการคล้องและฝึกช้าง จึงทรงโปรดให้รวบรวมเป็นตำราขึ้นเพื่อการสืบทอด โดยเน้นเฉพาะไปที่ผู้ที่จะมาเป็นตำแหน่งสมุหพระคชบาลเท่า นั้น ในขณะเดียวกันก็ทรงแยกกรมพระคชบาลให้ไปอยู่ในบังคับบัญชาของสมุหกลาโหม ทรงตั้งกรมช้างต้น (ช้างหลวง) ขึ้นใหม่ สังกัดอยู่กับกรมวังเพื่อใช้ในกิจการของพระมหากษัตริย์และเชื้อพระวงศ์โดย เฉพาะ

 

การคล้องและฝึกฝนช้างจึงถือเสมือนเป็นกีฬาหรือ “คชศาสตร์” สำหรับพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ ที่จะต้องฝึกฝนฝีมือศาสตร์แห่งคชสารสงครามนี้ไว้ จะได้มีความสามารถมากเพียงพอ ซึ่งพระเพทราชา ทรงเป็นเจ้าทรงกรมในกรมพระคชบาลมาในสมัยพระนารายณ์ จึงมีฐานอำนาจและกำลังเพียงพอที่จะขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา ในเวลาต่อมา

ในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ตำราคชศาสตร์ ยัง คงมีความสำคัญและยังคงใช้ประกอบพิธีกรรมของกรมพระคชบาลอยู่ แต่เมื่อเวลาผ่านไป ความเจริญของบ้านเมืองและเทคโนโลยีสงครามสมัยใหม่รวมถึงการคมนาคมที่สะดวก สบายขึ้น การใช้ช้างเพื่อเป็นพาหนะและการสงครามจึงลดลง

ช้างเริ่มกลายมาเป็นสัญลักษณ์สำคัญประดับพระบารมีแห่งพระมหากษัตริย์ จนถึงปี ร.ศ.129  กรมพระคชบาลจึงถูกยกเลิกไป ส่วนกรมช้างต้นนั้นถูกยุบเป็นกองช้างต้นในสมัยรัชกาลที่ 7

และเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี 2475 กองช้างต้น” ก็ถูกยุบลงอีกเช่นกัน ในปัจจุบันจึงคงเหลือเพียง หน่วยงานหนึ่งในแผนกราชพาหนะของสำนักพระราชวัง

ย้อนกลับมาที่การจับช้างมาใช้ตำราคชกรรม ที่เรียกกันว่าการคล้องช้าง (Elephant Round-up) ถือเป็นศิลปศาสตร์สำคัญของพระมหากษัตริย์ รวมถึงเชื้อพระวงศ์ เจ้าทรงกรมและขุนศึกระดับสูงในอดีต เพื่อนำมาใช้เป็นพาหนะในยามสงบ และใช้เป็นคชาธารในยามพระราชสงคราม

ในอดีตพระมหากษัตริย์ทรงมักจะเสด็จออกเพื่อไปวังช้างด้วย พระองค์เอง ทั้งนี้ก็เพื่อฝึกฝนร่วมกับข้าราชบริพารในการคล้องช้างป่า ให้มีความชำนาญ ทั้งยังฝึกการขับขี่ช้าง และฝึกใช้ช้างในการพระราชสงคราม

วิธีการคล้องช้างในสมัยโบราณมีอยู่สองแบบ แบบแรกคือไปจับในป่า แบ่งออกเป็นสองวิธี เรียกว่า โพนช้าง คือไล่ติดตามโขลงช้าง แล้วคล้องจับเอาเฉพาะตัวที่ต้องการออกมาเลย  และ วังช้าง คือไปตั้งค่ายเป็นกับดักช้างในป่า จับช้างยกโขลง

แบบที่สองคือ”ต้อนช้างมาคล้องที่เพนียด”  ไล่ ต้อนให้ช้างเข้ามาจนมุม แล้วเลือกจับตัวที่ต้องการไว้ ส่วนตัวอื่น ๆ ก็ปล่อยกลับเข้าป่าไป เมื่อขาดช้างใช้งานก็ค่อยต้อนเข้ามาจับกันใหม่

    เพนียด (ออกเสียงว่า พะ – เนียด) ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า kraal  (คราล)หมายถึง “คอกสัตว์” ครับ

เพนียดสำคัญในสมัยกรุงศรีอยุธยาและกรุงรัตนโกสินทร์ ตั้งอยู่ทางเหนือของเกาะเมืองอยุธยา เรียกกันว่าเพนียดทุ่งทะเลหญ้า ซึ่งก็คล้องช้างหน้าพระที่นั่งให้แขกบ้านแขกเมืองชมกันจนมาถึงสมัยรัชกาลที่ 5 จึงเลิกลาไป

การคล้องช้างในเพนียดกลายมาเป็นมหรสพในสมัยกรุงรัตโกสินทร์ ผู้คนต่างนิยมมาดูกันล้นหลามโดยเฉพาะวัยรุ่นชาย เพราะ ดูสนุก ตื่นเต้น ต้องคอยลุ้นให้ทางฝ่ายผู้คล้อง คือพวกเจ้าหน้าที่ในกรมพระคชบาลหรือกรมช้างนั้น คล้องช้างป่าที่ดุร้ายให้ได้ โดยอาศัยทั้งความกล้า ปฏิภาณและความชำนาญอย่างยิ่ง  ส่วนผู้ชมนั้น ก็ต้องระมัดระวังตัว

องค์ประกอบของเพนียดคล้องช้าง

องค์ประกอบของเพนียดคล้องช้าง มี พระที่นั่งคชประเวศมหาปราสาท เป็นที่สำหรับประทับทอดพระเนตร  ศาลปะกำ สถานที่สำหรับประกอบพิธีกรรมก่อนจับช้างเข้าเพนียด เสาซุงหัวบัว ปักเว้นระยะเพื่อทำเป็นคอก  ช่องกุด ประตูเล็กๆ สำหรับเจ้าหน้าที่เข้าออก เชิงเทินก่ออิฐ เป็นกำแพงล้อมรอบเพนียด เสาโตงเตง เป็นซุงที่ห้องจากด้านบน ปลายลอย มีเชือกดึงออกไปด้านข้าง เพื่อเปิดให้ช้างเข้า แต่ออกไม่ได้

ถ้าพูดถึงการคล้องช้างป่า ชาวกูย หรือชาวส่วย ดูจะถูกกล่าวถึงมากครั้งว่าเป็นกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องและผูกพันการคล้องและ เลี้ยงช้างมาแต่สมัยโบราณ แต่ก็ยังไม่ชัดเจนนักว่าสืบทอดคชศาสตร์มาจากราชสำนักเขมรโบราณหรือจะเกี่ยว ข้องกับราชสำนักอยุธยาในการคล้องการฝึกช้างด้วยหรือเปล่า

ชาวส่วยเป็นกลุ่มคนเดียวที่ยังคงมีตำราคชศาสตร์และการประกอบพิธีกรรมในการคล้องช้างอย่างมีระเบียบแบบแผนที่สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

ชาวส่วยจะออกไปจับช้างในป่าด้วยการคล้องช้าง เรียกกันว่า โพนช้าง” โดยแบ่งหน้าที่เป็น มะหรือจา มีหน้าที่เป็นผู้ช่วยควาญ เป็นผู้ถือท้ายหรือผู้ที่ช้างต่อ  หมอสะเดียง เป็นผู้ชำนาญในการควบคุมช้าง มีประสบการณ์ในการจับช้างป่า จะขี่ช้างอยู่ตรงคอ หมอสะดำ ทำหน้าที่ควาญ เรียกว่า ควาญเบื้องขวา มีฐานะสูงกว่าสะเดียงสะดำต้องมีประสบการณ์เคยออกจับช้างป่า มาแล้วอย่างน้อย 11 เชือกขึ้นไป บางทีเรียกว่าหมอใหญ่

ครูบา เป็นหมอช้างใหญ่ เป็นหัวหน้าในกลุ่มย่อยหรือหมู่ช้างต่อ จะออกจับช้างป่าได้เมื่อได้รับอนุญาตจากครูบาใหญ่ บางครั้งครูบาออกจับช้างได้ตามลำพัง

ครูบาใหญ่ เป็นหมอช้างใหญ่ หรือประกำหลวง หรือ หมอเฒ่า เป็นผู้อำนายการออกจับช้างแต่ละครั้ง เป็นประธานในพิธีเซ่นผีประกำ และในการประกอบพิธีกรรมทั้งหลาย ในขณะเดินป่าครูบาใหญ่ก็จะเป็นผู้ชี้ขาด และตัดสินใจ ในกลยุทธการคล้องช้างทุกครั้ง

 

 

ในการคชยุทธ์ สงครามบนหลังช้างและยุทธหัตถี ช้างเป็นพาหนะสำคัญในการพระราชสงครามของยุคสงครามจารีต เมื่อเกิดสงคราม เหล่าช้างศึกพร้อมควาญจำนวนมากจะถูกเกณฑ์เข้ามาร่วมกองทัพ โดยมีกรมพระคชบาลเป็นแม่กองใหญ่ เหล่าขุนศึกผู้ควบคุมช้างจะจัดกระบวนทัพช้างเป็นแถวตามหลัก “พิชัยสงคราม” โดยมีพระมหากษัตริย์ที่ประทับบนคอช้างศึกเป็นผู้นำออกคำสั่งผ่านการโบกเครื่องหมายธงบนสัปคับหลังช้าง

 

ในสงครามครั้งหนึ่ง จะมีช้างร่วมศึกด้วยข้างละประมาณ 200  – 300 เชือก ช้างจะผ่านพิธีกรรม ลงยันต์ตามตัวเพื่อให้หนังเหนียวและศักดิ์สิทธิ์ พร้อมแต่งช้างให้พร้อมในการรบด้วยการใส่เกราะขาด้วยโซ่พันหรือเกราะมีหนาม ใส่เกราะงวงที่มีหนามแหลม ใส่เกราะงา แล้วกระตุ้นให้ช้างให้ตกน้ำมัน ดุร้าย ก่อนออกทำสงคราม หรือกรอกเหล้าเพื่อให้ช้างเมา ให้ดมฝิ่นหรือควันศักดิ์สิทธิ์ จนเกิดความฮึกเหิม ใช้ผ้าสีแดงผืนใหญ่ปิดตาช้างให้เห็นแต่เฉพาะด้านหน้าเพื่อไม่ให้ช้างตกใจและเสียสมาธิในการพุ่งไปข้างหน้า เรียกว่า ” ผ้าหน้าราหู ”

 

 

ในสงครามประจัญบาน ช้างศึกอาจมีคนนั่งเพียง 1 – 2 คน โดยไม่มีสัปคับช้างอยู่บนหลัง ช้างศึกประเภทนี้มีมากในกองทัพ เคลื่อนที่เร็วตามฝีเท้าช้างและสามารถเข้าตีทัพไพร่ราบฝ่ายศัตรูให้แตก กระจายได้ง่ายกว่าด้วยธนูและหอกซัด

ส่วนช้างศึกหลวง มีตำแหน่งของหลังช้าง 3 คน คือ ตำแหน่งบนคอช้าง พระมหากษัตริย์ เชื้อพระวงศ์ มหาเสนาระดับแม่ทัพ จะเป็นผู้ควบคุมช้างเข้าทำการต่อสู้เอง โดยอาวุธประเภทต่าง ๆ ทั้งธนูและหอกซัดในระยะใกล้และใช้ง้าวเมื่อประชิดตัว ตำแหน่งกลางช้าง จะเป็นตำแหน่งที่จะให้สัญญาณการปรับรูปทัพและส่งอาวุธที่อยู่บนสับคับให้แก่คอช้าง โดยอาวุธได้แก่ ง้าว, หอก, โตมร, หอกซัด และเครื่องป้องกันต่าง ๆ เช่น โล่ เขนเป็นต้น และตำแหน่งควาญช้างท้าย ซึ่งจะเป็นผู้บังคับช้างจะนั่งอยู่หลังสุด คอยปัดอาวุธไม่ให้ศัตรูเข้ามาทำร้ายจากทางด้านหลัง

ช้างทรงของพระมหากษัตริย์และเชื้อพระวงศ์ จะมีขุนทหารฝีมือดี 4 คนประจำตำแหน่งเท้าช้างทั้ง 4 ข้างด้วย เรียกว่า “จาตุรงคบาท” ซึ่งไม่ว่าช้างทรงจะไปทางไหน จาตุรงคบาทต้องตามไปคุ้มกันด้วย และจะมี จาตุรงคบาทกลางช้างและท้ายช้างสำรอง ตามเสด็จช้างทรงอย่างคล่องแคล่วเพื่อสลับผลัดเปลี่ยนหากตำแหน่งนั้นตายลง

ในพระราชสงครามโบราณ การชนช้างแบบตัวต่อตัวระหว่างผู้นำหรือพระมหากษัตริย์ เรียกว่า การกระทำ”ยุทธหัตถี”  ซึ่ง เกิดขึ้นได้ยาก เนื่องจากเริ่มมีเทคโนโลยีการใช้ปืนตะวันตกเข้ามาเกี่ยวข้องในการสงครามมาก ขึ้น สงครามแบบโบราณเริ่มเปลี่ยนแปลงไป พระมหากษัตริย์ไม่นิยมนำช้างศึกออกนำหน้ากองทัพเองเช่นในอดีตอีกแล้ว เพราะเสี่ยงกับลูกปืนที่เล็งยิงตำแหน่งคอช้างได้ง่าย

 

 

 

 

อ้างอิงhttp://www.oknation.net/blog/voranai/2007/09/15/entry-1

ใส่ความเห็น